f   y 

  • ์No Gift
  • Vision301065 1905x400
  • วิสัยทัศน์กองทุนฯ
  • องค์กรคุณธรรม
  • AWBanner
  • พช.ใสสะอาด
  • คลังข้อมูลกลุ่มอาชีพ
  • ช่องทางการชำระหนี้
  • Banner HR

         ข่าว/กิจกรรมผู้บริหาร

ข่าวกิจกรรม

หนังสือสั่งการ / คำสั่ง / ประกาศ



            1      2      3      4                             

            1      2      3      4                             

            1      2      3      12 copy                                   

            13                                

ถาม-ตอบ(Q&A)

เกี่ยวกับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

เกี่ยวกับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

Q1.1: ที่มาของการจัดตั้งและดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

A1.1: กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” เป็นนโยบายที่สําคัญของรัฐบาล โดยกําหนดเป็นวาระเร่งด่วน ที่กำหนดดําเนินการปี ๒๕๕๕ สําหรับเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนแบบดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ย ในการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อการพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ และสวัสดิการให้แก่สตรี รวมถึงการพัฒนาศักยภาพสตรีและเครือข่ายสตรี การพัฒนาบทบาทสตรี การสร้างภาวะผู้นํา และการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ ทั้งนี้ รัฐบาลมุ่งเน้นที่จะทํางานร่วมกับองค์กรสตรีตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ เพื่อให้โอกาสสตรีในทุกพื้นที่ ทุกชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมพัฒนา เพื่อสตรีทุกคน โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรสตรีต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เพื่อให้สตรีไทยได้ใช้ประโยชน์จากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ในการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

Q1.2: วัตถุประสงค์การดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

A1.2: มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ย ในการสร้างโอกาสให้สตรีเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับการลงทุน เพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือสำหรับการส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างหรือสวัสดิภาพ หรือสวัสดิการให้แก่สตรี
2) เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพสตรีและเครือข่ายสตรี การเฝ้าระวังและดูแลปัญหาของสตรี ตลอดจนการช่วยเหลือเยียวยาสตรีที่ประสบปัญหาในทุกรูปแบบ การรณรงค์ให้สังคมเข้าใจปัญหาสตรีในทุกมิติ และการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรี
3) เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมในการพัฒนาบทบาทสตรี การแก้ไขปัญหาสตรีขององค์กรต่างๆ การสร้างภาวะผู้นำ การพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิต รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมของสตรี
4) เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการสนับสนุนโครงการอื่นๆ ที่เป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสตรีตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร

Q1.3: แหล่งเงินทุน

A1.3: เงินและทรัพย์สินของกองทุน
1) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
2) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3) เงินสนับสนุนอื่นๆ ที่รัฐบาลจัดสรรให้เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
4) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
5) เงินที่ได้รับจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
6) ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
7) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือกองทุนได้รับตามกฎหมายอื่น

การใช้จ่ายเงินกองทุน

1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนหรือแหล่งเงินตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
2) เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบริหารกองทุน
3) การบริหารงบประมาณแบ่งเป็นเงินทุนหมุนเวียน (กู้ยืม) ร้อยละ 80 และเงินอุดหนุนโครงการ/กิจกรรม ร้อยละ 20 ของเงินทุนที่ได้รับการจัดสรร แต่ทั้งนี้ งบบริหารตามแผนการบริหารและการจัดการทองทุน ไม่เกินร้อยละ 3 ของส่วนที่เป็นเงินอุดหนุน

Q1.4: ประเภทสมาชิก

A1.4: สมาชิกมี 2 ประเภท ดังนี้
1) สมาชิกประเภทบุคคลธรรมดา ได้แก่
1.1) สตรีผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ
1.2) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือ
1.3) เป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียบบ้าน
1.4) อาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ขอขึ้นทะเบียนไม่น้อยกว่า 6 เดือน และ
1.5 ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
2) สมาชิกประเภทองค์กรสตรี ได้แก่
2.1) มูลนิธิหรือสมาคม ที่ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหรือจังหวัดที่ขอขึ้นทะเบียนไม่น้อยกว่า 6 เดือน มีการดำเนินงานและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความรับผิดชอบ เสียสละ หรือมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์แก่สังคมเกี่ยวกับการทำงาน การฝึกอาชีพ การพัฒนาช่วยเหลือ หรือการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรี
2.2) ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฯ ประเภทองค์กร

Q1.5: การขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิก

A1.5: 1) สมัครสมาชิก Online ได้ที่ Website http://164.115.23.70/Register/register.php
2) สมัครด้วยตนเอง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทุกอำเภอ ในพื้นที่ของผู้สมัคร

Q1.6: โครงสร้างคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

A1.6:

1) คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด (คกส.จ.)
คกส.จ. ประกอบด้วย คกส.ต. ในแต่ละตำบลของแต่ละอำเภอ คัดเลือกกันเองให้เหลืออำเภอละ 1 คน เป็นกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นที่ปรึกษาโดยตำแหน่ง

อำนาจหน้าที่

(1) บริหารกองทุน รวมทั้งตรวจสอบ กำกับดูแล และจัดสรรรายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนในเขตพื้นที่จังหวัด
(2) จัดหาสถานที่ทำงานของบุคลากรและ คกส.จ.
(3) จัดหาทุนหรือรายได้เข้ากองทุนในเขตพื้นที่จังหวัด
(4) พิจารณาจัดสรรเงินกองทุนให้ คกส.ต. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด
(5) พิจารณาและอนุมัติจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนโครงการของสมาชิกที่ยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุนในเขตพื้นที่จังหวัด ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
(6) จัดทำบัญชีของกองทุนในเขตพื้นที่จังหวัด ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด
(7) สำรวจและจัดทำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนสมาชิก รวมทั้งโครงการที่ได้ยื่นคำขอกู้ยืมจากกองทุนในเขตพื้นที่จังหวัด เสนอต่อคณะกรรมการติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(8) รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งรายงานการเงินของกองทุนในเขตพื้นที่จังหวัด เสนอต่อคณะกรรมการติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานจังหวัด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(9) ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
(10) แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คกส.ต. และคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใด ที่เกี่ยวข้องตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

2) คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีกรุงเทพมหานคร (คกส.กทม.)
คกส.กทม. ประกอบด้วย ผู้แทนสมาชิกใน กทม.สมัครเข้าเป็นกรรมการกองทุนและเลือกตั้งกันให้เหลือจำนวน 12 คน เป็นกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นที่ปรึกษา คกส.กทม. โดยตำแหน่ง

อำนาจหน้าที่

(1) บริหารกองทุน รวมทั้งตรวจสอบ กำกับดูแล และจัดสรรรายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(2) จัดหาสถานที่ทำงานของบุคลากรและ คกส.กทม.
(3) จัดหาทุนหรือรายได้เข้ากองทุนในเขตพื้นที่ กทม.
(4) พิจารณาจัดสรรเงินกองทุนให้สมาชิกตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด
(5) พิจารณาและอนุมัติจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนโครงการของสมาชิกที่ยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุนในเขตพื้นที่ กทม.ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
(6) จัดทำบัญชีของกองทุนในเขตพื้นที่ กทม. ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด
(7) สำรวจและจัดทำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนสมาชิก รวมทั้งโครงการที่ได้ยื่นคำขอกู้ยืมจากกองทุนในเขตพื้นที่ กทม. เสนอต่อคณะกรรมการติดตามและสนับสนุนการดำเนินงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(8) รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งรายงานการเงินของกองทุนในเขตพื้นที่ กทม. เสนอต่อคณะกรรมการติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานจังหวัด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(9) ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
(10) แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คกส.ต. และคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใด ที่เกี่ยวข้องตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

3) คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล (คกส.ต.)
3.1) ผู้แทนสมาชิกกองทุนฯ ในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชนคัดเลือกกันเอง แห่งละ 1 คน
3.2) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน คณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด (คกส.จ.) แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสตรี
3.3) ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล (คกส.ต.) แต่งตั้งโดยคณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด (คกส.จ.)

อำนาจหน้าที่

(1) บริหารกองทุน รวมทั้งตรวจสอบ กำกับดูแล และจัดสรรรายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนในเขตท้องที่ตำบล
(2) จัดหาสถานที่ทำงานของบุคลากรและคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล (คกส.ต.)
(3) จัดหาทุนหรือรายได้เข้ากองทุน
(4) พิจารณาโครงการของสมาชิกที่ยื่นขอกู้ยืมเงิน หรือขอรับการสนับสนุนจากกองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด
(5) สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนสมาชิก โครงการที่ได้ยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุนในตำบล เสนอต่อคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด (คกส.จ.) เพื่อพิจารณาอนุมัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
(6) รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรค รวมทั้งรายงานการเงินของกองทุนในเขตท้องที่ตำบล เสนอต่อคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด (คกส.จ.) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

4) กรรมการทุกคณะ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี
5) การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

Read more

การขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

การขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

Q2.1: คุณสมบัติของผู้ขอรับการสนับสนุน

A2.1:

1) เป็นสมาชิกประเภทบุคคลธรรมดาและรวมตัวกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หรือ
2) เป็นสมาชิกประเภทองค์กรสตรี
3) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงาน หรือสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่ยื่นคำขอ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
4) ดำเนินงานและมีผลงานเกี่ยวกับการทำงานหรือฝึกอาชีพ การพัฒนา การช่วยเหลือคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรีหรือมีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม/ชุมชน ที่เกี่ยวข้องกับสตรี
5) ไม่ดำเนินกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน

Q2.2: หลักเกณฑ์ของโครงการที่ขอรับการสนับสนุน

A2.2:

1) ประเภทเงินทุนหมุนเวียน เป็นโครงการที่เป็นเงินกู้ยืมเงิน จะต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน เพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้
2) ประเภทอุดหนุน
2.1) เป็นโครงการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรี องค์กรสตรี หรือชุมชนในการพัฒนาศักยภาพสตรี และเครือข่ายสตรี การเฝ้าระวังและดูแลปัญหาของสตรี การช่วยเหลือเยียวยาสตรีที่ประสบปัญหาในทุกรูปแบบ การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรี ตลอดจนการรณรงค์ให้สังคมเข้าใจปัญหาสตรีในทุกมิติ (เงื่อนไขของโครงการจะต้องเป็นโครงการที่ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการหรือแหล่งทุนอื่น เว้นแต่ งบประมาณไม่เพียงพอ
2.2) เป็นโครงการที่ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมในการพัฒนาบทบาทและแก้ไขปัญหาสตรีขององค์กรต่างๆ การสร้างภาวะผู้นำ การพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิต การสร้างสวัสดิภาพหรือสวัสดิการให้แก่สตรี รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของสตรี
3) โครงการที่ขอรับการสนับสนุน โครงการละไม่เกิน 200,000 บาท

Q2.3: การยื่นแผนงานโครงการขอรับการสนับสนุน / เอกสารที่เกี่ยวข้อง

A2.3:

1) ผู้แทนสมาชิกประเภทบุคคลธรรมดา หรือ ผู้มีอำนาจทำการแทนหรือผู้ได้รับมอบฉันทะจากสมาชิกประเภทองค์กร ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสาร ตามแบบที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด
2) การยื่นคำขอสำหรับสมาชิกส่วนภูมิภาค ให้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด
3) การยื่นคำขอสำหรับสมาชิกในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีกรุงเทพมหานคร
4) เอกสารที่เกี่ยวข้อง (แบบฟอร์มประกอบการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี) จำนวน 13 แบบ
(4.1) แบบเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
(4.2) แผนการใช้จ่ายเงินโครงการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ
(4.3) ตัวอย่างสรุปงบหน้าแบบเสนอโครงการฯ
(4.4) หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน
(4.5) หนังสือสัญญาค้ำประกัน
(4.6) แบบรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงิยโครงการของผู้กู้ยืมเงิน
(4.7) แบบรายผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินของ คกส.ต.
(4.8) แบบรายผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินของ คกส.จ.
(4.9) แบบรายผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินของ คกส.กทม.
(4.10) ตัวอย่างระเบียบข้อบังคับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด/กทม.
(4.11) ทะเบียนการโอนเงินเข้าบัญชีสมาชิกของ คกส.ต.
(4.12) แบบทะเบียนคุมลูกหนี้รายตัว
(4.13) แบบฟอร์มรายงานการประชุม
(4.14) แบบฟอร์มใบสำคัญจ่าย

Q2.4: หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการใช้งบประมาณ

A2.4:

1) ผู้ขอรับการสนับสนุนจะต้องนำเงินไปใช้ตามแผนงานโครงการที่ได้ยื่นขอรับเงินสนับสนุน และไม่สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากแผนงานโครงการและไม่สามารถนำไปใช้นอกพื้นที่ตั้งหรือที่อยู่ของสมาชิก
2) กรณีผู้ขอรับการสนับสนุนดำเนินงานตามแผนงานโครงการแล้วเสร็จ หากมีเงินสนับสนุนเหลือ ให้ดำเนินการคืนภายใน 30 วัน นับจากโครงการแล้วเสร็จ หรือ สามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมแผนงานโครงการ เพื่อดำเนินงานตามจำนวนเงินที่เหลืออยู่ได้ ยกเว้น โครงการที่เป็นการกู้ยืมเงิน ให้คืนเงินต้นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด
3) ผู้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณต้องรายงานผลการปฏิบัติงานและรายงานผลการใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่สิ้นเดือนมีนาคมและเดือนกันยายน ยกเว้น โครงการที่ดำเนินการมีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 180 วัน ให้รายงานภายใน 30 วัน นับแต่แผนงานโครงการเสร็จสิ้น
4) การจัดส่งรายงานการใช้จ่ายงบประมาณให้รายงานต่อคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี/จังหวัด/กทม./อำเภอ แล้วแต่กรณี โดยจัดส่งรายงานด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก็ได้
5) กรณีเงินทุนหมุนเวียน เมื่อครบกำหนดสัญญาให้สมาชิกคืนเงินเข้าบัญชี “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล” แล้วนำใบโอนเงินแจ้งคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรตำบลทราบ เพื่อให้ออกใบเสร็จรับเงินให้สมาชิก
6) “คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล” โอนเงินที่ได้รับคืนเข้าบัญชี “คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด” ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเงินโอนคืนจากสมาชิก
7) สมาชิกที่ได้รับเงินสนับสนุนแล้ว และยังไม่สามารถดำเนินการตามโครงการได้ให้สมาชิกโอนเงินคืนเข้าบัญชี “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล” ภายใน 7 วันทำการ นับตั้งแต่ได้รับการโอนเงิน และกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล โอนเงินคืนเข้าบัญชี “คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด” ภายใน 3 วันทำการ หรือ อาจขอแก้ไขปรับปรุงแผนงานโครงการเพื่อดำเนินการตามโครงการเดิม จำนวนงบประมาณตามที่ได้รับอนุมัติก่อนหน้านั้น โดยเสนอปรับปรุงแผนงานโครงการให้ “คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล” เห็นชอบส่งให้ “คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด” พิจารณาอนุมัติ

Q2.5 หน่วยงานประสานการดำเนินงาน / ข้อมูลเชิงลึก

A2.5

1) เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี /ระเบียบ/เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อ กลุ่มอำนวยการ สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
โทร. 02-2829306, 02-2829310 โทรสาร. 02-2829305
2) เกี่ยวกับเว็บไซต์การลงทะเบียน ฐานข้อมูล
ติดต่อ กลุ่มเทคโนโลยีและสารสนเทศ สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
โทร. 02-1416287

Read more

ข้อมูลคำถามที่พบบ่อยในการสมัครสมาชิกออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์

ข้อมูลคำถามที่พบบ่อยในการสมัครสมาชิกออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์

ข้อมูลคำถามที่พบบ่อยในการสมัครสมาชิกออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ http://164.115.23.70/Register/register.php

1. กรอกข้อมูลเพื่อสมัครสมาชิกครบถ้วนแล้ว กดสมัคร แต่หน้าเว็บไซต์ไม่ขึ้นอะไรเลย

ตอบ แนะนำให้ใช้โปรแกรม FireFox ในการสมัคร

2. กดสมัครแล้ว หน้าเว็บไซต์ขึ้นตัวหนังสือ “ให้ติดต่อผู้ดูแลระบบ”

ตอบ มี 2 กรณี

1. ข้อมูลซ้ำ ให้คีย์ข้อมูลเลขบัตรประชาชนเพื่อตรวจสอบว่า สมัครหรือยัง
2. อาจจะเป็นที่ระบบมีคนใช้งานเยอะ ทำให้ระบบทำงานช้ามาก จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาด ต้องลองหาช่วงเวลาสมัครใหม่

3. ผู้สมัครต้องการตรวจสอบข้อมูลว่า ตนเองเป็นสมาชิกกองทุนฯ หรือยังทำอย่างไร

ตอบ

1. ผู้สมัครสามารถตรวจสอบได้เองทางเว็บไซต์ http://164.115.23.70/Register/register.php หัวข้อ “ตรวจสอบสมาชิกออนไลน์” ที่อยู่บนแถบเมนูสีม่วงข้างบน โดยพิมพ์เลขบัตรประชาชน และพิมพ์ตัวอักษรที่ปรากฏลงในช่อง กดตรวจสอบผล
2. ขอเลขบัตรประชาชน เพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลให้ผู้สมัคร
3. หากตรวจสอบแล้ว ไม่พบข้อมูล แนะนำให้ผู้สมัครทำการสมัครใหม่ผ่านทางเว็บไซต์

4. การสมัครเวลากรอกข้อมูลที่อยู่ในเขตเทศบาล เมื่อใส่เลขหมู่ที่ ไปแล้ว ระบบจะขึ้นชื่อหมู่บ้านมาให้ แต่ไม่ตรงกับชื่อหมู่บ้านของตนเอง

ตอบ สามารถลบชื่อหมู่บ้านนั้น และพิมพ์ชื่อหมู่บ้านที่ถูกต้องแทนได้เลย

5. ผู้สมัครได้ยืนยันว่าตนเองได้ดำเนินการสมัครแล้ว แต่เมื่อตรวจสอบข้อมูลสมาชิก ไม่พบข้อมูลของผู้สมัคร

ตอบ มี 2 กรณี

1. ข้อมูลของผู้สมัครอาจจะเป็นส่วนของข้อมูลที่บันทึกเป็นไฟล์ excel ที่ยังไม่ได้นำขึ้นเว็บไซต์ เพราะทางกรมต้องตรวจสอบข้อมูลก่อน
2. การสมัครออนไลน์จะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อกด “สมัคร” แล้ว หน้าเว็บไซต์ต้องขึ้นว่า “สมัครเป็นสมาชิกกองทุนสตรีเรียบร้อยแล้ว”
3. ขอ เลขบัตรประชาชน เพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลให้อีกครั้ง หากไม่พบข้อมูล แนะนำให้ผู้สมัครทำการสมัครใหม่

6. ผู้สมัครออนไลน์ที่ไม่ใช้เจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน

ตอบ ผู้สมัครสามารถทำการสมัครสมาชิกออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ http://164.115.23.70/Register/register.php ที่อยู่หน้าเว็บไซต์ด้านขวามือสีชมพู และผู้สมัครต้องแนบไฟล์สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านด้วย

7. การสมัครสมาชิกกองทุนฯ สามารถทำการสมัครได้ถึงวันไหน

ตอบ สามารถทำการสมัครได้เรื่อยๆ

8. การออกรายงานข้อมูลสมาชิกกองทุนฯ

ตอบ ทำได้โดยเข้าไปที่ เว็บไซต์ http://164.115.23.70/Register/register.php ส่วนของรายงานข้อมูลสมาชิก ค้นห้าข้อมูลที่ต้องการแล้วสั่งปริ้นหน้าเว็บไซต์

9. การตรวจสอบข้อมูลยอดรวมผู้สมัครสมาชิกกองทุนทำอย่างไร

ตอบ ตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ http://164.115.23.70/Register/register.php หัวข้อรายงานข้อมูลสมาชิก โดยใช้ Username และ Password แล้วนำข้อมูลผู้ผ่านการตรวจสอบ+ผู้ไม่ผ่านการตรวจสอบ+รอการตรวจสอบ และมีข้อมูลส่วนหนึ่งที่บันทึกเป็นไฟล์ excel ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบสิทธิ์โดยสำนักทะเบียนราษฎร์ จึงยังไม่ได้นำขึ้นระบบ 

10. ใครเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัครเป็นสมาชิกกองทุนฯ

ตอบ กรมฯ จะส่งข้อมูลผู้สมัครให้สำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง ดำเนินการตรวจสอบ

11. ในการตรวจสอบข้อมูลสมาชิกใช้เวลาในการดำเนินการเท่าใด

ตอบ ประมาณ 1- 2 เดือน หรืออาจจะเร็วกว่านั้น

12. ผู้สมัครสมาชิกที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ ต้องดำเนินการอย่างไร

ตอบ รอประกาศหน้าเว็บไซต์ ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร

13. ในส่วนของข้อมูลผู้สมัครสมาชิกกองทุนฯ ที่บันทึกเป็นไฟล์ excel ส่งให้กรมฯ นำขึ้นเว็บไซต์

ตอบ กรมฯ จะยังไม่ได้นำขึ้นเว็บไซต์ให้ เพราะต้องดำเนินการตรวจสอบข้อมูลก่อน แล้วส่งข้อมูลดังกล่าวให้ทางสำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง ตรวจสอบสิทธิ์ให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงจะนำข้อมูลขึ้นเว็บไซต์

Read more